วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


   ยาไอซ์ เป็นสารเสพติดในกลุ่มแอมเฟตามีน อนุพันธ์หนึ่งของยาบ้า จัดเป็นยาเสพติดที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522

         ลักษณะของเม็ดยา

    ยาไอซ์เป็นผลึกคล้ายน้ำแข็ง จึงเป็นที่มาของชื่อยาไอซ์ ความบริสุทธิ์ของยาค่อนข้างสูง ออกฤทธิ์แรงกว่ายาบ้ามากจึงมีคนเรียกว่าหัวยาบ้า

          การนำไปใช้ 

     ละลายน้ำแล้วฉีดเข้าเส้นเลือด บางคนนำไปเผาไฟแล้วสูดดมควันเหมือนการเสพยาบ้า ยาตัวนี้ทำให้อารมณ์เคลิบเคลิ้มสนุกสนานสดชื่นกระปรี้กระเปร่าทำให้ติดได้ง่ายกว่าและมีอันตรายต่อร่างกายอารมณ์และสังคมของผู้เสพมากกว่ายากลุ่มแอมเฟตามีนอื่นๆไม่ได้มีแพร่หลายกันทั่วไปเนื่องจากหายากและราคาค่อนข้างแพง มักจะใช้กันในสังคมไฮโซ นายนันท์ชัตสัณห์ สกุลพงศ์ นักจิตวิทยา ศูนย์บำบัดจังหวัดเชียงใหม่ ให้ข้อมูลว่า ยาไอซ์จะใช้เหมือนกับยากลุ่มยาบ้าอื่นๆ คือ สูดดม กลืนหรือสอดใส่ทวารหรืออาจใช้วิธีการสูบหรือฉีด ซึ่งผลจากยาจะรวดเร็วกว่า ผลกระทบของยาไอซ์จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน ขึ้นอยู่กับขนาดร่างกาย น้ำหนัก ปริมาณและวิธีการใช้ยาเสพติด


     ผลของยาไอซ์

ผลของยาไอซ์ที่มีต่อร่างกาย
รูม่านตาขยาย เหงื่อออกมาก การมองเห็นพร่ามัว วิงเวียน ร่างกายซูบผอม ริมฝีปากแห้ง ความดันโลหิตสูงขึ้น อัตราการหายใจสูงขึ้น อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น ปวดหัวอย่างรุนแรง อัตราการเต้นของหัวใจเร็วขึ้นและผิดปกติ มือและนิ้วสั่น คลื่นเหียนอาเจียน ที่สำคัญคือมีภาวะผิดปกติเสียหายอย่างถาวรของเส้นโลหิตในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ใช้ในปริมาณสูง หรืออาจจะช็อกหมดสติไปได้

ผู้ใช้ยาไอซ์เป็นระยะเวลานาน

ผู้ใช้ยาไอซ์เป็นระยะเวลานานจะมีคือ มีอาการซึมเศร้ารุนแรง ลดความอยากอาหารและน้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว หวาดระแวง ย้ำคิดย้ำทำ มีความผิดปกติของปอดและไต ซึ่งอาจถึงตายได้ ประสาทหลอน มีปัญหาเกี่ยวกับฟัน มีโรคต่างๆ เกี่ยวกับหัวใจ นอกจากนั้นการฉีดยาไอซ์เข้าทางเลือดทำให้ผู้ใช้มีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อไวรัสทางกระแสเลือด เช่น ตับอักเสบ B และ C โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีการใช้อุปกรณ์ฉีดยาร่วมกัน


ขอบคุณที่มา  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B9%8C







    ใบกระท่อม เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ขนาดกลางสูง 10-15 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว   เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม    แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม.  ยาวประมาณ 8-14 ซม.   ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม.   กระท่อมพบได้ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูลพัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของประเทศมาเลเซียสารสำคัญที่พบในใบกระท่อมคือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่นpsilocybin LSD และ ยาบ้า ทำให้รู้สึกชา กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงานทำให้สามารถทำงานได้นานและทนมากขึ้น และทนต่อความร้อนมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ผู้ที่ใช้ใบกระท่อม สามารถทำงานกลางแจ้ง ได้ทนนานขึ้น

    การออกฤทธิ์

    กระท่อมออกฤทธิ์ประเภทกระตุ้นประสาท การเสพใบกระท่อมมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "ถุงท่อม" ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง

วิธีการเสพ


     ใบกระท่อมมีรสขมเฝื่อนเมา ใช้ประโยชน์ทางยาได้โดยเป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยร่างกาย  ระงับประสาทช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย    ผู้ใช้พืชกระท่อมส่วนใหญ่มักเป็นชาวนา  ชาวสวนและผู้ใช้แรงงานในชนบท   

     วิธีเสพใบกระท่อม  เคี้ยวใบสด หรือบดใบแห้ง ละลายน้ำดื่ม  บางรายเติมเกลือด้วยเล็กน้อยเพื่อป้องกันท้องผูก   ส่วนมากจะเคี้ยวเพียง 2-3 ใบ และดื่มน้ำอุ่น หรือกาแฟร้อนตาม   ใช้วันละ 3-10 ครั้งต่อวันตามอาการเหนื่อย   เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง  ปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้น (ประมาณร้อยละ 37 ใช้วันละ 21-30 ใบ) ในบางรายก้อจะเอามาสูบใบแห้งหรือสกัดเอายางท่อม หรือไปผสมเป็นยาสูตร 4x100
ผู้เสพจะมีการนัดมานั่งเสพด้วยกัน และพูดคุยกันในเรื่องทั่ว ๆ ไป เหมือนการเสพน้ำชาหรือกาแฟ หรือคล้ายการตั้งวงเสพเหล้า กินกันจนหมดก็แยกย้ายกันกลับ ผู้เสพจะบอกว่าเสพแล้วรู้สึกสบายหายเครียด พูดคุยได้สนุกขึ้น ต่อมาก็จะเริ่มมึน ๆ ง่วง ๆ เหมือนเมาเหล้าแต่น้อยกว่ามาก โดยส่วนใหญ่ใช้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

ผลของกระท่อมต่อร่างกาย

     มีการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ใบกระท่อมมีการศึกษาหนึ่งสรุปว่า การใช้ใบกระท่อมในขนาดต่ำให้ผลระงับประสาท  แต่เมื่อขนาดสูงขึ้น กลับเปลี่ยนเป็นกระตุ้นประสาทแทน   แต่จากการศึกษาหลายแห่งสรุปในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ การใช้ใบกระท่อมในขนาดต่ำๆ ให้ผลกระตุ้นระบบประสาท มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทคล้ายยาบ้าอ่อน ๆ ส่วนขนาดสูงกดประสาท ในรายงานการศึกษาในคนที่เสพติ กระท่อมในประเทศไทย  พบว่าหลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10  นาที  จะมีอาการเป็นสุข กระปรี้กระเปร่า  ไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) ทํางานได้นานขึ้น ทนแดด  แต่จะเกิดอาการกลัวหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน ผู้เสพจะมีผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น อาการข้างเคียง  ได้แก่  ปากแห้ง  ปัสสาวะบ่อย  เบื่ออาหาร ท้องผูก  อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ  นอนไม่หลับ   ถ้าเสพใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทําให้มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน (เมากระท่อม)  แต่ในบางรายเสพเพียง 3 ใบ ก็ทำให้เมาได้ เมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด  นอนไม่หลับ ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้มมีสีคล้ำขึ้นคล้ายหน้าผู้ป่วยโรคตับ  ประมาณร้อยละ30 ของผู้ติดกระท่อม  รายงานว่า มีความต้องการทางเพศลดลง  และต้องใช้กระท่อมร่วมกับแอลกอฮอล์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ถ้าหยุดเสพ  จะเกิดอาการขาดยา  ได้แก่ ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก รู้สึกอ่อนเพลียไม่สามารถทำงานได้  อารมณ์ซึมเศร้า  นํ้าตาไหล นํ้ามูกไหล  ก้าวร้าว

   ในปัจจุบันนี้กำลังระบาดในกลุ่มเด็กวัยรุ่น นักเรียน






ขอบคุณที่มา :  http://oknation.nationtv.tv/blog/DIVING/2013/06/22/entry-4






   ยาบ้า เป็นยาเสพติด สารสังเคราะห์ประกอบด้วยเมทแอมฟีตะมีนผสมกับกาเฟอีน มีชื่ออื่นๆเรียก เช่น ยาม้า ยาขยัน ยาแก้ง่วง ยาโด๊ป ยาตื่นตัว ยาเพิ่มพลัง นิยมเสพโดยรับประทานโดยตรงหรือผสมในอาหาร หรือเครื่องดื่ม หรือเสพโดยนำยาบ้ามาบดแล้วนำไปลนไฟแล้วสูดดมเป็นไอระเหยเข้าสู่ร่างกาจัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2441

    ลักษณะทางกายภาพ

    มีลักษณะเป็นยาเม็ดกลมแบนขนาดเล็ก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร น้ำหนักเม็ดยาประมาณ 80-100 มิลลิกรัม มีสีต่างๆ กัน เช่น สีส้ม สีน้ำตาล สีม่วง สีชมพู สีเทา สีเหลือง และสีเขียว เป็นต้น มีสัญลักษณ์ที่ปรากฏบนเม็ดยา เช่น ฬ , ฬ99 , M , PG ,WY สัญลักษณ์รูปดาว , รูปพระจันทร์เสี้ยว ,99  




    การออกฤทธิ์

    ยาบ้า เป็นยาที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย ในระยะแรกจะออกฤทธิ์ทำให้ร่างกายตื่นตัว หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ใจสั่น ประสาทตึงเครียด แต่เมื่อหมดฤทธิ์ยาจะรู้สึกอ่อนเพลียมากกว่าปกติ ประสาทล้าทำให้การตัดสินใจช้าและผิดพลาด เป็นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ถ้าใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานจะทำให้สมองเสื่อม เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หวาดระแวง คลุ้มคลั่ง เสียสติ เป็นบ้า อาจทำร้ายตนเองและผู้อื่นได้ หรือในกรณีที่ได้รับยาในปริมาณมาก จะไปกดประสาท และระบบการหายใจทำให้หมดสติ และถึงแก่ชีวิตได้

    วิธีการเสพ

1) กิน เป็นวิธีดั้งเดิมของผู้ใช้แรงงานจนปัจจุบันนี้ 
2) ฉีดเข้าเส้น มักผสมยาเสพติดตัวอื่น เช่น ผงขาว หรือยากล่อมประสาท 
3) สูบ โดยบดคลุกกับบุหรี่สูบ 
4) สูดควันระเหย คล้ายคลึงกับวิธีสูบบุหรี่ แต่จะบดแล้วลนไฟโดยแบ่งเป็น 
      - สูบป้องผ่านน้ำ เพื่อลดการระคายเคือง 
   * - ใส่กระดาษฟรอยด์ เรียกว่า "เรือ" แล้วลนไฟ จึงใช้หลอดกาแฟ ดูดควัน
        ที่ระเหยออกมา เรียกว่า "จับมังกร"   
        เป็นวิธีที่นิยมแพร่หลายในหมู่นักเรียนที่เสพติดในปัจจุบัน ผลต่อร่างกาย 

สังเกตผู้ติดยา

จะมีหน้าตาที่เรียวเล็ก แขนและขาผอมลีบ ใบหน้าดำคล้ำ ขอบตาจะดำ เส้นผมแข็งหรือผมร่วง ร่างกายจะผอมผิดปกติ ไม่ชอบอยู่เฉยๆ มีกลิ่นตัวแรง ลมหายใจเหม็น ถ้าไม่แน่ใจว่าบุตรหลานของท่านติดยาหรือไม่ให้ท่านไม่จำเป็นต้องตรวจด้วยยา ให้ใช้วิธีการให้คนๆนั้นยื่นมือยื่นแขนทั้งสองแขนเหยียดตรงมาข้างหน้า แล้วกางมือให้ตั้งฉากกับแขนแล้วกางนิ้วออก หากมีการสั่นผิดปกติ มีแนวโน้มว่าผู้นั้นใช้ยาเสพติด 
 สังเกตจากพฤติกรรมทั่วๆไปเช่น การไม่พักผ่อน นอนดึกเป็นนิสัยแต่ตื่นตอนเช้าตรู่ ไม่ค่อยออกสังคม มีโลกส่วนตัวสูง ชอบอยู่ในสถานที่มิดชิด ปิดห้องนั่งเล่นเกมส์คนเดียว สูบบุหรี่จัด หรือชอบงัดแงะเครื่องจักรกลออกมาทำความสะอาดหรือซ่อมแซม กัดฟันกรามหรือเอามือม้วนที่ปลายผม หรือบีบสิว แต่งหน้าแต่งตัวเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยๆ เวลาเรียกทานข้าวมักจะไม่มาทานด้วยเพราะยาชนิดนี้จะช่วยให้ผู้เสพไม่หิวข้าว 
สังเกตกลุ่มเพื่อนที่มาหา เด็กกลุ่มติดยามักร่วมทำกิจกรรมที่ดูเป็นมิตรเสมอ เช่นซ้อมดนตรี วาดภาพ เปิดติว แต่ความจริงแล้วพวกเขาหาโอกาสมารวมตัวกันเสพยา ให้สังเกตว่ากิจกรรมที่เขาทำอยู่นั้นเนิ่นนานกว่าปกติหรือไม่เช่น ซ้อมดนตรีต่อวันๆ ละ 10 ชั่วโมง เล่นเกมส์กันนานหลายชั่วโมง ไม่กินข้าวกินปลา ถือว่าไม่ปกติ
สังเกตตามซอกตู้ลิ้นชักว่ามีอุปกรณ์การเสพซ่อนอยู่หรือไม่ เช่นหลอด เวลาซักผ้าให้ตรวจดูในกระเป๋าเพื่อดูว่ามีเศษฟรอยซองบุหรี่หรือไม่




ขอบคุณที่มา  https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2






วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


ทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่มีฤทธิ์ระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรง ยานี้ไม่ใช่ยาที่เกิดขึ้นจากอนุพันธ์ฝิ่น แต่ออกฤทธิ์โดยจับกับตัวรับฝิ่น ทำให้มีฤทธิ์ของยาที่คล้ายยาที่เกิดขึ้นจากอนุพันธ์ฝิ่น แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า 5-20 เท่า จึงถือว่าตัวยาชนิดนี้ไม่ใช่ตัวยาที่เป็นยาเสพติด




ผลข้างเคียงและข้อควรระวังในการใช้ยาทรามาดอล

  1. ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้งานชนิดนี้ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ง่วงนอน ท้องผูก คลื่นไส้ อาการเหล่านี้เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในการใช้ยา
  2. เกิดอาการอ่อนเพลีย ปากแห้ง จุกแน่นท้อง อาเจียน ตาพร่ามั่ว ใจสั่น ประสาทหลอน ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น อาการข้างเคียงเหล่านี้พบได้ค่อนข้างน้อย
  3. ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ และสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอื่นๆ เพราะอาจทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางมากยิ่งขึ้น
  4. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ทรามาดอลร่วมกับยาที่มีส่วนผสมของแอมเฟตามีน ยาแก้ซึมเศร้า เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดอาการชักได้
  5. ไม่ควรใช้ยาเกินขนาดเป็นอันขาด เนื่องจากเป็นยาที่มีฤทธิ์ค่อนข้างรุนแรงอยู่แล้ว การใช้ยาเกินขนาดอาจส่งผลให้เกิดอาการซึม รูม่านตาหดเล็ก ชัก หรือ หมดสติได้
ยานี้มีกลไกการออกฤทธิ์ 2 อย่างที่สำคัญคือ 

  1. กระตุ้น µ (mu) receptors (มิวรีเซปเตอร์) ซึ่งเมื่อกระตุ้นแล้วจะมีฤทธิ์ลดความปวด รวมทั้งมีฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทและมีผลทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข (euphoria) ได้ด้วย การออกฤทธิ์นี้เหมือนกับการออกฤทธิ์ของยามอร์ฟีน (morphine) แต่ทรามาดอล จะมีความแรงน้อยกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า ทำให้ยานี้ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษเหมือนกับมอร์ฟีน (ตามกฎหมายนั้นยาทรามาดอลจัดเป็นยาอันตรายและสามารถจำหน่ายได้ในร้านยา) อย่างไรก็ตามแม้จะออกฤทธิ์แรงน้อยกว่ามอร์ฟีนถึง 10 เท่า แต่ทรามาดอล จะมีฤทธิ์แก้ปวดที่ดีเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์ในข้อ 2 มาช่วยเสริมฤทธิ์แก้ปวดด้วย
  2. เพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทที่ชื่อ serotonin และ norepinephrine ซึ่งสารสองตัวนี้เมื่อมีปริมาณเพิ่มขึ้นที่ไขสันหลังจะลดอาการปวดได้ การเพิ่มขึ้นของ serotonin จากการใช้ยาทรามาดอล เกินขนาด (เช่นครั้งละ 3-4 เม็ด) อาจส่งผลให้เกิดอาการที่เรียกว่า “serotonin syndrome” (มีอาการที่เกิดจาก serotonin มากเกิน) รวมทั้งอาจเกิดอาการในกลุ่มที่เรียกว่า extrapyramidal เช่น กลืนลำบาก มือสั่น มีไข้ กล้ามเนื้อเกร็งตัวอย่างมาก หรืออาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น สับสน ประสาทหลอนและหวาดระแวง ส่วนการเพิ่มขึ้นของ norepinephrine อาจทำให้ใจสั่น ปวดศีรษะ กระตุ้นระบบประสาทและทำให้ชักได้ อาการที่กล่าวมาข้างต้นจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรมของยีนส์ที่ใช้ในการทำลายยา tramadol การทำงานของไต ขนาดยาที่ใช้ และการใช้ร่วมกับยาหรือสารอื่นที่อาจเพิ่มหรือลดการออกฤทธิ์ของยา
วิธีการกิน


วัยรุ่นส่วนใหญ่นิยมนำมาผสมกับยาแก้ไอและน้ำอัดลม ซึ่งทำให้เกิดอาการเหม่อลอย มีความสุข เหมือนตัวลอยได้ เวียนหัว มึนงง อาเจียน
ส่วนใหญ่นิยมนำมาผสมกับโปรโคดิล






ขอบคุณที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/DIVING/2013/08/26/entry-3

กัญชา ในวงการยาเสพติดเรียก "ปุ๊น" หรือ "เนื้อ" เป็นพืชล้มลุกจำพวกหญ้าขึ้นได้ง่ายในเขตร้อน ลำต้นสูงประมาณ 2-4 ฟุต 
ลักษณะใบจะแยกออกเป็นแฉกประมาณ 5-8 แฉก คล้ายใบมันสำปะหลัง ที่ขอบใบทุกใบจะมีรอยหยักอยู่เป็นระยะๆ ออกดอกเป็นช่อเล็กๆตามง่ามของกิ่งและก้าน ปัจจุบันรูปแบบของกัญชาที่พบนอกจากจะพบในลักษณะของกัญชาสด กัญชาแห้งอัดเป็นแท่งเป็นก้อนแล้ว ยังอาจพบในรูปของ “น้ำมันกัญชา” (Hashish Oil) ซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ได้จากการนำกัญชามาผ่านกระบวนการสกัดหลายๆ ครั้ง หรืออาจพบในลักษณะของ “ยางกัญชา” (Hashish) ซึ่งทำจากเกสรของดอกกัญชา มีลักษณะเป็นผงละเอียดและมีส่วนที่เป็นยางเหนียวมากกว่ากัญชาชนิดอื่น เป็นต้น

วิธีการเสพ


     ส่วนมากใช้วิธีการสูบควัน ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า"บ้อง" อาจจะทำมาจากวัสดุต่างกันหลายชนิด เช่น บ้องไม่ไผ่, บ้องแก้ว ฯลฯ โดยวิธีการสูบจะต้องนำกัญชาที่มักจะมาเป็นก้อนอัดแท่ง มาสับให้ละเอียด (เรียกว่า"ยำ") เสร็จแล้วจึงนำผงกัญชาสับที่ได้มาอัดใส่ตรงส่วนจงอยที่ยื่นมาของบ้อง(ดังรูป) แล้วจุดไฟเผาโดยตรงไปที่ผงกัญชา พร้อมๆกันนั้น ผู้เสพก็จะสูบอัดควันเต็มที่เข้าปอดให้ได้มากที่สุด (บางบ้องจะมีสายไว้ใช้สูบ) หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือการมวนบุหรี่สูบ แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าวิธีแรก
นอกจากนั้นก็มีการกิน โดยกินได้ทั้งใบสดและใบแห้ง เคยมีข่าวลูกอมและกาละแมสอดไส้ผสมกัญชา
รวมทั้งการผสมน้ำคั้นของกัญชาปริมาณเล็กน้อยลงไปในขนมของประเทศทางตะวันตกเพื่อช่วยให้ผู้บริโภคติดใจกับรสชาติของขนม

การออกฤทธิ์และการเสพติด

กัญชาออกฤทธิ์แบบผสมผสานกัน ทั้งกระตุ้นประสาท กดประสาท และหลอนประสาท ( 3 in 1 )
สารออกฤทธิ์ที่อยู่ในกัญชาเรียกว่า canabinoid มีอยู่ประมาณ 90 ชนิด
แต่ที่สำคัญมีเพียง 3 ชนิด คือ canabidiol canabinol และ tetrahydrocannabinal (THC) 
ตัวสำคัญที่แสดงฤทธิ์ คือ เตตราไฮโดรแคนนาบินอล หรือ THC และเป็นสารตัวสำคัญที่ทำให้เกิดอาการเสพติด  ปริมาณของ THC จะขึ้นกับแหล่งที่ปลูกและอายุของต้นกัญชาถ้าอายุน้อย THC จะมีมาก และกัญชาจากประเทศแถบเอเชียจะมีคุณภาพดีที่สุด United Nations Office on Drugs and Crime (UNODC) ได้ประมาณปริมาณของสาร THC ในกัญชาแต่ละรูปแบบดังนี้
ในกัญชาสดจะมีสาร THC ประมาณ 5% ในยางกัญชาสกัด (Hashish) มีสาร THC ประมาณ 20%
และในน้ำมันกัญชา (Hashish Oil) มีสาร THC มากที่สุด ประมาณ 60% โดยในเบื้องต้นจะออกฤทธิ์กระตุ้นประสาททำให้ ผู้เสพตื่นเต้น ช่างพูด และหัวเราะตลอดเวลา ต่อมาจะกดประสาททำให้ผู้เสพมีอาการคล้ายเมาเหล้าอย่างอ่อน เซื่องซึม และง่วงนอน หากเสพเข้าไปในปริมาณมากๆจะหลอนประสาททำให้เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ความคิดสับสน ควบคุมตนเองไม่ได้

เมื่อเสพเข้าไปแล้วเกิดอะไรขึ้นกับร่างกาย

ผลจะเกิดภายหลังการสูบประมาณ 2 - 3 นาที หรือหลังจากรับประทานแล้วประมาณ 30 - 60 นาที

- ตาแดง คออักเสบ คอแห้ง เหงื่อออกมาก และกัญชาทำให้เพิ่มการขับน้ำในร่างกายผู้เสพ ซึ่งทำให้ผู้เสพกัญชาหิวน้ำและต้องการของหวานๆ มาก ทำให้กินอาหารจุ

- มีอาการสั่นของกล้ามเนื้อ มือสั่น เท้าสั่น ทรงตัวไม่อยู่มีอาการผิดปกติทางสายตา ขาดการควบคุมตนเอง ซึ่งมีอันตรายอย่างยิ่งถ้าผู้เสพกัญชาขับรถยนต์ หรือเดินในท้องถนน

- เวียนศรีษะอย่างแรง หูอื้อ มีเสียงในหู ม่านตาขยายกว้างขึ้น มักอยู่ไม่สุข พูดพล่าม หัวเราะลั่น เอะอะ หรือแสดงตลกต่างๆ ความรู้สึกต่อความเจ็บปวดและประสาทสัมผัสไวมากขึ้น

- ความดันโลหิตสูง อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น มือเท้าเย็น และกัญชามีส่วนทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเปลี่ยนด้วย

- ความคิดสับสน การตัดสินใจและสมาธิเสีย อารมณ์ซึมเศร้าคุมสติไม่อยู่ เกิดอาการเป็นโรคจิตขึ้นได้ อาการต่างๆเหล่านี้ อาจจะมีอยู่เป็นเวลาหลายชั่วโมง หรือหลายสัปดาห์ก็ได้ ดังนั้น ผู้เสพกัญชาเป็นประจำมักหลีกเลี่ยงอาการเสื่อมทางจิตไม่พ้น จนกลายเป็นโรคจิตในที่สุด

ราคา

กัญชาแห้งอัดแท่งในประเทศไทยตกกิโลกรัมละ 10,000 - 15,000 บาท
โดยที่ผู้เสพทั่วๆไปจะซื้อครั้งละประมาณ 400 - 1,000 บาทครับ น้อยกว่านี้ก็มี 200 - 300 บาทก็ซื้อได้ แต่ไม่ค่อยคุ้ม (1 ขีด ก็เยอะแล้วนะ)




ขอบคุณที่มา : https://sites.google.com/site/thepenaltyfordrugna/thos-khxng-kay