วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


    ใบกระท่อม เป็นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่ง ขนาดกลางสูง 10-15 เมตร  ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว   เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม    แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม.  ยาวประมาณ 8-14 ซม.   ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม.   กระท่อมพบได้ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูลพัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของประเทศมาเลเซียสารสำคัญที่พบในใบกระท่อมคือ ไมทราไจนีน (Mitragynine) เป็นสารจำพวกอัลคาลอยด์ ออกฤทธิ์กดประสาทส่วนกลาง (CNS depressant) เช่นเดียวกับยาเสพติดกลุ่มเดียวกัน เช่นpsilocybin LSD และ ยาบ้า ทำให้รู้สึกชา กดความรู้สึกเมื่อยล้าขณะทำงานทำให้สามารถทำงานได้นานและทนมากขึ้น และทนต่อความร้อนมากขึ้นด้วยเช่นกัน ดังนั้นจึงทำให้ผู้ที่ใช้ใบกระท่อม สามารถทำงานกลางแจ้ง ได้ทนนานขึ้น

    การออกฤทธิ์

    กระท่อมออกฤทธิ์ประเภทกระตุ้นประสาท การเสพใบกระท่อมมาก ๆ หรือเป็นระยะเวลานาน มักจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเม็ดสีขึ้นที่บริเวณผิวหนัง ทำให้ผู้ที่รับประทานมีผิวคล้ำและเข้มขึ้น และยังพบอีกว่าเสพกระท่อมโดยไม่ได้รูดเอาก้านใบออกจากตัวใบก่อน อาจจะทำให้เกิดอาการที่เรียกว่า "ถุงท่อม" ในลำไส้ได้ เนื่องจากก้านใบและใบของกระท่อมไม่สามารถย่อยได้ จึงตกตะกอนติดค้างอยู่ภายในลำไส้ ทำให้ขับถ่ายออกมาไม่ได้ เกิดพังผืดขึ้นมาหุ้มรัดอยู่โดยรอบก้อนกากกระท่อมนั้น ทำให้เกิดเป็นก้อนถุงขึ้นมาในลำไส้ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง

วิธีการเสพ


     ใบกระท่อมมีรสขมเฝื่อนเมา ใช้ประโยชน์ทางยาได้โดยเป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยร่างกาย  ระงับประสาทช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย    ผู้ใช้พืชกระท่อมส่วนใหญ่มักเป็นชาวนา  ชาวสวนและผู้ใช้แรงงานในชนบท   

     วิธีเสพใบกระท่อม  เคี้ยวใบสด หรือบดใบแห้ง ละลายน้ำดื่ม  บางรายเติมเกลือด้วยเล็กน้อยเพื่อป้องกันท้องผูก   ส่วนมากจะเคี้ยวเพียง 2-3 ใบ และดื่มน้ำอุ่น หรือกาแฟร้อนตาม   ใช้วันละ 3-10 ครั้งต่อวันตามอาการเหนื่อย   เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง  ปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้น (ประมาณร้อยละ 37 ใช้วันละ 21-30 ใบ) ในบางรายก้อจะเอามาสูบใบแห้งหรือสกัดเอายางท่อม หรือไปผสมเป็นยาสูตร 4x100
ผู้เสพจะมีการนัดมานั่งเสพด้วยกัน และพูดคุยกันในเรื่องทั่ว ๆ ไป เหมือนการเสพน้ำชาหรือกาแฟ หรือคล้ายการตั้งวงเสพเหล้า กินกันจนหมดก็แยกย้ายกันกลับ ผู้เสพจะบอกว่าเสพแล้วรู้สึกสบายหายเครียด พูดคุยได้สนุกขึ้น ต่อมาก็จะเริ่มมึน ๆ ง่วง ๆ เหมือนเมาเหล้าแต่น้อยกว่ามาก โดยส่วนใหญ่ใช้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง

ผลของกระท่อมต่อร่างกาย

     มีการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ใบกระท่อมมีการศึกษาหนึ่งสรุปว่า การใช้ใบกระท่อมในขนาดต่ำให้ผลระงับประสาท  แต่เมื่อขนาดสูงขึ้น กลับเปลี่ยนเป็นกระตุ้นประสาทแทน   แต่จากการศึกษาหลายแห่งสรุปในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ การใช้ใบกระท่อมในขนาดต่ำๆ ให้ผลกระตุ้นระบบประสาท มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทคล้ายยาบ้าอ่อน ๆ ส่วนขนาดสูงกดประสาท ในรายงานการศึกษาในคนที่เสพติ กระท่อมในประเทศไทย  พบว่าหลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10  นาที  จะมีอาการเป็นสุข กระปรี้กระเปร่า  ไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) ทํางานได้นานขึ้น ทนแดด  แต่จะเกิดอาการกลัวหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน ผู้เสพจะมีผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น อาการข้างเคียง  ได้แก่  ปากแห้ง  ปัสสาวะบ่อย  เบื่ออาหาร ท้องผูก  อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ  นอนไม่หลับ   ถ้าเสพใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทําให้มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน (เมากระท่อม)  แต่ในบางรายเสพเพียง 3 ใบ ก็ทำให้เมาได้ เมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด  นอนไม่หลับ ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้มมีสีคล้ำขึ้นคล้ายหน้าผู้ป่วยโรคตับ  ประมาณร้อยละ30 ของผู้ติดกระท่อม  รายงานว่า มีความต้องการทางเพศลดลง  และต้องใช้กระท่อมร่วมกับแอลกอฮอล์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง ถ้าหยุดเสพ  จะเกิดอาการขาดยา  ได้แก่ ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก รู้สึกอ่อนเพลียไม่สามารถทำงานได้  อารมณ์ซึมเศร้า  นํ้าตาไหล นํ้ามูกไหล  ก้าวร้าว

   ในปัจจุบันนี้กำลังระบาดในกลุ่มเด็กวัยรุ่น นักเรียน






ขอบคุณที่มา :  http://oknation.nationtv.tv/blog/DIVING/2013/06/22/entry-4




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น