วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559


ทรามาดอล (Tramadol) เป็นยาแก้ปวดลดไข้ที่มีฤทธิ์ระดับปานกลางถึงขั้นรุนแรง ยานี้ไม่ใช่ยาที่เกิดขึ้นจากอนุพันธ์ฝิ่น แต่ออกฤทธิ์โดยจับกับตัวรับฝิ่น ทำให้มีฤทธิ์ของยาที่คล้ายยาที่เกิดขึ้นจากอนุพันธ์ฝิ่น แต่มีฤทธิ์น้อยกว่า 5-20 เท่า จึงถือว่าตัวยาชนิดนี้ไม่ใช่ตัวยาที่เป็นยาเสพติด




ผลข้างเคียงและข้อควรระวังในการใช้ยาทรามาดอล

  1. ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจากการใช้งานชนิดนี้ ได้แก่ อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ ง่วงนอน ท้องผูก คลื่นไส้ อาการเหล่านี้เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในการใช้ยา
  2. เกิดอาการอ่อนเพลีย ปากแห้ง จุกแน่นท้อง อาเจียน ตาพร่ามั่ว ใจสั่น ประสาทหลอน ปัสสาวะบ่อย เป็นต้น อาการข้างเคียงเหล่านี้พบได้ค่อนข้างน้อย
  3. ไม่ควรใช้ยาชนิดนี้ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์ และสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอื่นๆ เพราะอาจทำให้เกิดการเสริมฤทธิ์กดประสาทส่วนกลางมากยิ่งขึ้น
  4. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ทรามาดอลร่วมกับยาที่มีส่วนผสมของแอมเฟตามีน ยาแก้ซึมเศร้า เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดอาการชักได้
  5. ไม่ควรใช้ยาเกินขนาดเป็นอันขาด เนื่องจากเป็นยาที่มีฤทธิ์ค่อนข้างรุนแรงอยู่แล้ว การใช้ยาเกินขนาดอาจส่งผลให้เกิดอาการซึม รูม่านตาหดเล็ก ชัก หรือ หมดสติได้
ยานี้มีกลไกการออกฤทธิ์ 2 อย่างที่สำคัญคือ 

  1. กระตุ้น µ (mu) receptors (มิวรีเซปเตอร์) ซึ่งเมื่อกระตุ้นแล้วจะมีฤทธิ์ลดความปวด รวมทั้งมีฤทธิ์กดการทำงานของระบบประสาทและมีผลทำให้เกิดอาการเคลิ้มสุข (euphoria) ได้ด้วย การออกฤทธิ์นี้เหมือนกับการออกฤทธิ์ของยามอร์ฟีน (morphine) แต่ทรามาดอล จะมีความแรงน้อยกว่ามอร์ฟีนประมาณ 10 เท่า ทำให้ยานี้ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษเหมือนกับมอร์ฟีน (ตามกฎหมายนั้นยาทรามาดอลจัดเป็นยาอันตรายและสามารถจำหน่ายได้ในร้านยา) อย่างไรก็ตามแม้จะออกฤทธิ์แรงน้อยกว่ามอร์ฟีนถึง 10 เท่า แต่ทรามาดอล จะมีฤทธิ์แก้ปวดที่ดีเนื่องจากมีกลไกการออกฤทธิ์ในข้อ 2 มาช่วยเสริมฤทธิ์แก้ปวดด้วย
  2. เพิ่มการทำงานของสารสื่อประสาทที่ชื่อ serotonin และ norepinephrine ซึ่งสารสองตัวนี้เมื่อมีปริมาณเพิ่มขึ้นที่ไขสันหลังจะลดอาการปวดได้ การเพิ่มขึ้นของ serotonin จากการใช้ยาทรามาดอล เกินขนาด (เช่นครั้งละ 3-4 เม็ด) อาจส่งผลให้เกิดอาการที่เรียกว่า “serotonin syndrome” (มีอาการที่เกิดจาก serotonin มากเกิน) รวมทั้งอาจเกิดอาการในกลุ่มที่เรียกว่า extrapyramidal เช่น กลืนลำบาก มือสั่น มีไข้ กล้ามเนื้อเกร็งตัวอย่างมาก หรืออาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น สับสน ประสาทหลอนและหวาดระแวง ส่วนการเพิ่มขึ้นของ norepinephrine อาจทำให้ใจสั่น ปวดศีรษะ กระตุ้นระบบประสาทและทำให้ชักได้ อาการที่กล่าวมาข้างต้นจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น พันธุกรรมของยีนส์ที่ใช้ในการทำลายยา tramadol การทำงานของไต ขนาดยาที่ใช้ และการใช้ร่วมกับยาหรือสารอื่นที่อาจเพิ่มหรือลดการออกฤทธิ์ของยา
วิธีการกิน


วัยรุ่นส่วนใหญ่นิยมนำมาผสมกับยาแก้ไอและน้ำอัดลม ซึ่งทำให้เกิดอาการเหม่อลอย มีความสุข เหมือนตัวลอยได้ เวียนหัว มึนงง อาเจียน
ส่วนใหญ่นิยมนำมาผสมกับโปรโคดิล






ขอบคุณที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/DIVING/2013/08/26/entry-3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น